04

เรื่องราวของ NGK

04 ความก้าวหน้าของ แบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ ที่มีแรงผลักดันมาจาก อุบัติเหตุไฟไหม้

อุบัติเหตุไฟไหม้แบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ.2011 เป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนความรู้สึกของ เอ็นจีเค ความปลอดภัยและความมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เราได้ร้องขอลูกค้าแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ ทั้งหมดให้หยุดการปฏิบัติงานทันที และเริ่มตรวจสอบสาเหตุและพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขและรับมืออย่างรวดเร็วตามคำสั่งของประธานบริษัท เราสามารถระบุปัญหา, วางมาตรการด้านความปลอดภัยที่แข็งแกร่งมากขึ้น และอนุญาตให้เริ่มปฏิบัติงานใหม่อีกครั้ง เหตุการณ์นี้ยังเป็นแรงผลักให้เราทบทวนดีไซน์พื้นฐานนับตั้งแต่เริ่มต้น และเราได้บทเรียนอันมีค่าว่าเราจำเป็นต้องมีการออกแบบผลิตภัณฑ์และมีระบบการทดสอบที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด

ไฟไหม้ ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.2011

ในเช้าตรู่วันที่ 21 กันยายน ค.ศ.2011 ได้รับการรายงานว่ามีอุบัติเหตุ เราได้รับแจ้งว่าแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ที่ติดตั้งที่สถานที่ปฏิบัติงานของลูกค้ากำลังไฟลุกท่วม สมาชิกของแผนกการขายและฝ่ายแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ยังคงไม่เชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น ขณะที่มุ่งหน้าไปยังสถานที่เกิดเหตุ เมื่อเดินทางไปถึง ไฟยังคงลุกไหม้อย่างรุนแรง เปลวไฟค่อย ๆ มอดลง และสถานีดับเพลิงได้ยืนยันว่าได้ดับเพลิงเสร็จเรียบร้อยในวันที่ 5 ตุลาคม

สมาชิกของฝ่ายแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ไม่เชื่อในสิ่งทิ่เกิดขึ้น เคยมีเหตุการณ์ไฟไหม้เช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา แต่ในตอนนี้เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ชนิดพิเศษที่มีกำลังส่งมาก แต่อุบัติเหตุในครั้งนี้เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่มาตรฐาน และคิดว่าตามหลักการแล้วจะไม่ทำให้เกิดไฟไหม้

การที่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุระหว่างแผนกซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ฝ่ายแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์เท่านั้น ยังมีฝ่ายในสำนักงานใหญ่และผู้จัดการจากทุกฝ่ายเข้าร่วมด้วยในวันที่เกิดเหตุไฟไหม้เป็นสิ่งที่บอกได้เป็นอย่างดีว่าเป็นเรื่องที่สะเทือนใจมากแค่ไหน คณะกรรมการเข้าร่วมในการสืบสวนสถานการณ์, หาสาเหตุของอุบัติเหตุ และขอให้ลูกค้าทั้งหมดที่ใช้แบตเตอรี่หยุดปฏิบัติงาน และแน่นอนว่าการผลิตก็ต้องหยุดชะงักไปด้วย

ค้นหาทุกความเป็นไปได้เพื่อระบุสาเหตุของไฟไหม้

มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุณภาพทั่วบริษัทเพื่อตรวจสอบประเด็นปัญหาด้านเทคนิคต่าง ๆ รวมทั้งสาเหตุการเกิดไฟไหม้และการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ แต่ทว่าแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ในสถานที่เกิดเหตุถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งหมด และมีเบาะแสเพียงอย่างเดียวคือข้อมูลที่บันทึกไว้จนถึงก่อนเกิดเหตุไม่นาน ดังนั้นมีเพียงสิ่งเดียวที่ทำได้คือการจำลองสถานการณ์ที่นำไปสู่อุบัติเหตุ, ทำการทดสอบ และพิสูจน์ความจริง และพวกเขาสามารถสืบหาความจริงได้สำเร็จโดยได้รับความร่วมมือจากทั้งในและนอกบริษัท

บทสรุปที่พวกเขาค้นพบคือข้อสันนิษฐานที่ว่า"เกิดอุณหภูมิสูงเป็นบางส่วน เนื่องจากระยะห่างผิดปกติภายในเซลล์แบตเตอรี่แบบเดี่ยว เป็นสาเหตุให้เซลล์แบตเตอรี่ 1 แท่งแตก นี่เป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในโมดูล แบตเตอรี่ และส่งผลให้แบตเตอรี่จำนวนมากพังตามไปด้วย และไฟลามไปไหม้โมดูล แบตเตอรี่ทั้งหมด" ข้อสรุปของคณะกรรมการตรวจสอบคือสาเหตุของไฟไหม้มาจากข้อบกพร่องในการผลิตหรือชิ้นงานเสียในช่วงแรก

เราได้ยึดตามข้อสรุปนั้น และทำการป้องกันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ติดตั้งไปแล้วปลอดภัย ในขณะเดียวกันก็ดำเนินมาตรการจำเพาะเพื่อเฝ้าระวังทางไกลมากขึ้นและวางแนวทางการจัดการเมื่อเกิดไฟไหม้ เรายังได้ปรับปรุงการบริหารงานคุณภาพในกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น รวมทั้งได้นำการตรวจสอบทุกผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการประกอบเซลล์แบตเตอรี่มาใช้อีกด้วย

สาเหตุของไฟไหม้

มาตรการเพิ่มความปลอดภัย

มีความรู้สึกต่อพันธกิจอย่างแรงกล้าที่จะรับผิดชอบต่อเทคโนโลยีที่มีเพียงหนึ่งเดียว

นอกเหนือจากระบุสาเหตุและดำเนินขั้นตอนการป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เรายังได้ทบทวนดีไซน์พื้นฐานของแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ของเราอีกด้วย ทำไมดูเหมือนว่าสาเหตุของไฟไหม้จะไม่ได้เกิดจากปัญหาในแง่โครงสร้าง สมาชิกคนหนึ่งของฝ่ายแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ ได้มองย้อนกลับไปว่าเกิดอะไรขึ้น "ตอนนี้เหลือคนเพียงไม่กี่คนที่มีความรู้เรื่องการพัฒนาแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ในยุคสมัยนั้น นี่เป็นกรณีศึกษา เราได้ใช้โอกาสนี้เรียนรู้ตั้งแต่เริ่มต้น และเราได้พยายามทบทวนดีไซน์พื้นฐานอีกครั้ง"

สมาชิกคนดังกล่าวยังได้เล่าเรื่องการดำเนินกิจการต่อ "นี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดหาได้จากบริษัทของเราเพียงแห่งเดียว, มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก และลูกค้ามีความคาดหวังสูง นอกจากนี้ยังหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นพลังงานทดแทน เราจึงกลับมาเริ่มผลิตอีกครั้งด้วยความรู้สึกรับผิดชอบต่อพันธกิจว่าเราจำเป็นต้องจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวต่อไป ด้วยความคิดว่าการดำเนินกิจการต่อไปเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด"

ไม่เพียงฝ่ายแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์เท่านั้น แต่พนักงานทั่วทุกบริษัททำงานกันอย่างหนัก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าและผู้เชี่ยวชาญภายนอกบริษัทอีกด้วย เราระบุสาเหตุและได้วางมาตรการความปลอดภัยที่แข็งแกร่งมากขึ้นในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ.2012 หลังจากเกิดอุบัติเหตุประมาณครึ่งปี และแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ที่ติดตั้งเริ่มกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม และสามารถกลับมาผลิตแบตเตอรี่ได้ใหม่อีกครั้งในปลายปี ค.ศ.2012 โดยได้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและกระบวนการตรวจสอบแล้ว

โรงงานแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ซึ่งมีการตรวจสอบการเกิดเหตุไฟไหม้และกลับมาเริ่มทำการผลิตอีกครั้งในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2012

พัฒนาการของแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ที่ได้รับแรงผลักดันจากอุบัติเหตุไฟไหม้

สำหรับ เอ็นจีเค แล้ว อุบัติเหตุของแบตเตอรี่ที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ชนิดมาตรฐานเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดมาก่อน แต่เราก็ได้รับบทเรียนว่า"ไม่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ สิ่งสำคัญคือต้องทำการดีไซน์, ปรับปรุงใหม่ และระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ลุกลามแม้เกิดไฟไหม้ขึ้นแล้วก็ตาม"

ในปี ค.ศ.2013 NGK ได้แถลงเกี่ยวกับแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ที่บรรจุในกล่อง ที่พัฒนาขึ้นหลังจากมีการทบทวนดีไซน์พื้นฐานใหม่แล้ว

สมาชิกของฝ่ายแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์ได้ชี้ให้เห็นว่า"อุบัติเหตุไม่ควรเกิดขึ้น แต่เราได้ใช้โอกาสนี้ยกระดับเทคโนโลยีให้สูงขึ้นไปอีกระดับอย่างแน่นอน" เขาเสริมอีกว่า"ตั้งแต่ตอนที่เกิดอุบัติเหตุจนกลับมาเริ่มผลิตใหม่อีกครั้ง เราได้ทุ่มเทแรงกายใจของทั้งหมดให้กับเรื่องนี้เลยทีเดียว และเราก็สามารถฟันฝ่ามาได้ด้วยความร่วมมือของทุกคนในบริษัทของเรา ธุรกิจแบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์คงอยู่มาถึงทุกวันนี้ไม่ได้หากปราศจากระบบความร่วมมือนั้น"

แบตเตอรี่โซเดียมซัลไฟด์แบบบรรจุกล่อง